SUN SURF MANDALA : ศิลปะบนผืนผ้าที่เชื่อมโยงจิตวิญญาณและสไตล์

SUN SURF MANDALA

วันนี้มาแชร์เรื่องราวของเสื้อหายากเบอร์ต้น ๆ ของวงการ เสื้อแมนดาลา

SUN SURF “MANDALA”
SPECIAL EDITION MODEL 2005
LOT NO. SS32289
100% RAYON
MADE IN JAPAN🇯🇵
OVERPRINT
HORIZONTAL PATTERN PRINTED

SUN SURF MANDALA
SUN SURF MANDALA 2005
SUN SURF MANDALA

แมนดาลา ลายหายากเบอร์ต้น ๆ ของ Sun Surf แบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากนักสะสมและผู้สวมใส่เสื้อฮาวายญี่ปุ่นทั่วโลก ลายนี้ทางผู้ผลิตได้ผลิตออกมา 3 รอบแล้ว รุ่นแรก ก่อนปี 2000 รหัส MSS ยังวางลายไม่สวยเหมือนรุ่นที่ 2 ที่ผลิตในปี 2005 รหัส SS32289 ผลิตออกมา 2 สี สีแดงและสีดำ ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดมาอย่างยาวนานกว่า 16 ปี นักสะสมยังหาซื้อ หาเก็บและใส่จนถึงตอนนี้ โดยในรุ่นนี้เปิดตัววางจำหน่ายในราคา 24,150 เยน ราคารุ่นนี้เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ตามความต้องการ ตามความหายาก จนแตะไปเกือบแสนเยนก็เคยมีมาแล้ว ในตัวที่เป็นมือ 1

มือสองมีตั้งแต่ 30,000 เยนขึ้นไป ขึ้นกับสภาพเสื้อ ยิ่งสภาพดี นอนกล่อง อุปกรณ์ครบ ราคาจะยิ่งสูง และในรุ่นล่าสุด 2021 รหัส SS38711 โดยในรุ่นนี้ผลิตออกมา 3 สี สีดำ สีแดงและสีขาว วางขายในราคา 31,900 เยน สูงกว่ารุ่นที่ 2 ถึง 7,750 เยนค่ะ โดยการวางลายเกือบเหมือนกันกับรุ่น 2 มีภาพเปรียบเทียบการวางลายของปี 2005 และ 2021 ให้ชม ทั้งสองรุ่นมีความแตกต่างกันหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของเนื้อผ้า และงานพิมพ์ค่ะ (ด้านล่างบทความ)

จากข้อมูลของเสื้อลายนี้เราทราบว่าถูกพบในเมืองเกียวโตช่วงปี 1970 เพื่อส่งออกไปสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทการค้าญี่ปุ่น Triple Times California Design ส่งออกเป็นผ้าสำหรับทำเสื้อ ในเวลานั้นมีเพียงผ้าเท่านั้น ผู้ผลิตและแบรนด์ที่ผลิตเสื้อยังไม่ทราบค่ะ (Sun Surf ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบลาย) เนื่องจากเป็นผ้าที่มีความสมบูรณ์สูง ซึ่งทำขึ้นจากการถูแม่พิมพ์ที่แกะสลักอย่างประณีตหลายครั้ง ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันเป็นงานที่ยอดเยี่ยมมากโดยช่างฝีมือผู้ชำนาญ

พื้นฐานของการออกแบบ คือ ม้วนหนังสือแบบแขวนของพุทธศาสนาในทิเบตที่เรียกว่า “Tanka” เดิมทีตั้งใจให้พระภิกษุได้อธิบายธรรมะในลักษณะที่เข้าใจง่ายระหว่างงานเผยแผ่ศาสนา ผ้าชนิดนี้ยังใช้ในพุทธศิลป์แบบธิเบต เช่น ผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายธิเบต ปัทมาสัมพวะ และสัญลักษณ์ของทั้งชายและหญิง Yab-Yum (ยับ-ยุม) มีการพิมพ์ลวดลายที่มองเห็นได้ ชื่อผลงาน “มณฑา” หมายถึง วงกลม ในภาษาสันสกฤต และอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีส่วนเกินหรือขาด นอกจากนี้ยังเป็นภาพที่แสดงถึงสภาวะแห่งการตรัสรู้และได้รับการสืบทอดในวัฒนธรรมญี่ปุ่นว่าเป็น “มันดาลา” ที่เทพเจ้าและพระพุทธเจ้ามารวมตัวกัน / ขอขอบคุณที่มาจาก Sun Surf

SUN SURF MANDALA

ในส่วนนี้เราจะพูดถึงที่มาที่ไปของลายเสื้อ

ต้นแบบขององค์ประกอบของลายนี้มาจากภาพพุทธศิลป์ของทิเบต – พระธนานิพุทธะ (ดูในภาพ) “The Five Buddha Families of the Yungdrung Bon” ภาพพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ตามคติความเชื่อของนิกายมหายาน ลายเสื้อผู้ออกแบบได้การผสมผสานจากภาพนี้ โดยเอาปางยับยุมมาใส่ไว้ในภาพนี้ ลายนี้ไม่ใช่ลายที่ Sun Surf ออกแบบเอง ซึ่งจากข้อมูลยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ออกแบบลายเสื้อนี้รวมถึงแบรนด์ผู้ผลิต ทาง Sun Surf จึงไม่ได้ลงชื่อแบรนด์ไว้เหมือนเสื้อรุ่นพิเศษลายอื่น ๆ ระบุป้ายคอไว้เพียงว่า “Sun Surf Special Single Needle Tailor Made Hand Printed in Kyoto”

พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้

SUN SURF MANDALA
ต้นแบบขององค์ประกอบของลายนี้มาจากภาพพุทธศิลป์ของทิเบต – พระธนานิพุทธะ “The Five Buddha Families of the Yungdrung Bon” ภาพพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ตามคติความเชื่อของนิกายมหายาน
SUN SURF MANDALA
พื้นฐานของการออกแบบ คือ ม้วนหนังสือแบบแขวนของพุทธศาสนาในทิเบตที่เรียกว่า “Tanka” เดิมทีตั้งใจให้พระภิกษุได้อธิบายธรรมะในลักษณะที่เข้าใจง่ายระหว่างงานเผยแผ่ศาสนา
SUN SURF MANDALA
โดยในภาพผู้ออกแบบใช้ภาพวาดของ พระพุทธรูปปาง “ยับยุม” เข้าไปแทน Yab-Yum (ยับ-ยุม) เป็นคำทิเบต แปลว่า พ่อแม่ เป็นพุทธศิลป์เชิงสัญลักษณ์พบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย ภูฏาน เนปาล และทิเบต ชื่อพระพุทธรูปปางนี้ อาจไม่คุ้นหู บางท่านอาจเคยเห็นแล้วแต่ไม่ทราบรายละเอียด ไม่ทราบชื่อปางเท่านั้น
SUN SURF MANDALA
ภาพสุดท้ายเป็นลายจากเสื้อค่ะ

พระธยานิพุทธะโดยทั่วไปมี 5 พระองค์ คือ

1.พระไวโรจนพุทธะ ทรงเป็นประธานของพระพุทธะทั้ง 5 พระนามหมายถึง ผู้มีปัญญาอันสูงสุด ตราประจำพระองค์เป็น ธรรมจักร ประทับอยู่ตรงกลางของพุทธมณฑล พระกายเป็นแสงสว่าง มักแทนด้วยสีขาว ทรงสิงโตเผือกเป็นพาหนะ พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญ คือ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

SUN SURF MANDALA
ภาพสุดท้ายเป็นลายจากเสื้อค่ะ

2.พระอมิตาภพุทธะ พระนามหมายถึง ผู้มีแสงส่องสว่างไปไม่มีที่สิ้นสุด ตราประจำพระองค์เป็น ดอกบัว ประทับทางทิศตะวันตกของพุทธมณฑล พระกายเป็นสีแดง ทรงนกยูงเป็นพาหนะ พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญ คือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ หรือ เจ้าแม่กวนอิม และ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

SUN SURF MANDALA
ภาพสุดท้ายเป็นลายจากเสื้อค่ะ

3.พระอโมฆสิทธิพุทธะ พระนามหมายถึง ผู้มีความสำเร็จอันสมบูรณ์ ตราประจำพระองค์เป็น วัชระแฝด ประทับทางทิศเหนือของพุทธมณฑล พระกายสีเขียว เป็นตัวแทนของพลังลมแห่งจิตวิญญาณ ทรงครุฑเป็นพาหนะ พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญ คือ พระวิศวปาณีโพธิสัตว์ โดย จะเป็นผู้รักษา พระศาสนาของพระศรีอารยเมตไตรยพุทธเจ้า ต่อไปในอนาคต

SUN SURF MANDALA
ภาพสุดท้ายเป็นลายจากเสื้อค่ะ

4.พระรัตนสัมภวพุทธะ พระนามหมายถึง ผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งสิ่งมีค่าทั้งมวล ตราประจำพระองค์เป็น รัตนมณี ประทับอยู่ทางทิศใต้ของพุทธมณฑล พระกายสีเหลืองทอง ทรงม้าเป็นพาหนะ พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญ คือ พระรัตนปาณีโพธิสัตว์

SUN SURF MANDALA
ภาพสุดท้ายเป็นลายจากเสื้อค่ะ

5.พระอักโษภยพุทธะ พระนามหมายถึง ผู้ไม่หวั่นไหว ตราประจำพระองค์เป็น สายฟ้า หรือ วัชระ ประทับทางทิศตะวันออกของพุทธมณฑล พระกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว ทรงช้างคู่เป็นพาหนะ พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญ คือ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ และ พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์

SUN SURF MANDALA
ปางยับยุม (Yab-Yum) / ภาพถ่ายจากเสื้อจริง

ปางยับยุม (Yab-Yum) คือ พระพุทธรูปปางที่มีอิสตรีนั่งคร่อมตักคู่เคียงอยู่ด้วย เป็นพระพุทธรูปของพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน นิกายตันตระ เป็นนิกายย่อยของมหาญาณอีกที ซึ่งนิกายนี้ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อแบบตันตระในอินเดีย ซึ่งเทิดทูนเทวสตรี ให้ความสำคัญกับเพศหญิง บูชาโยนีกับศิวลึงค์อันเป็นสัญลักษณ์ของกำเนิดสิ่งมีชีวิต ส่งผลให้นิกายตันตระนับถือชายาของพระโพธิสัตว์องค์ต่าง ๆ ที่เรียกว่า ตารา (Tara) ด้วย ก่อให้เกิดพระพุทธรูปปางยับยุม โดยสตรีที่อยู่เคียงพระโพธิสัตว์ ก็คือพระชายาของพระองค์นั่นเอง ซึ่งพระโพธิสัตว์เป็นสัญลักษณ์ของ กรุณา และพระชายาเป็นสัญลักษณ์ของ ปัญญา กรุณาเปรียบเหมือนแขนขา ปัญญาเปรียบเหมือนดวงตา หากขาดดวงตาแล้วแขนขาก็กระทำการอย่างมืดบอด หากขาดแขนขาแล้วดวงตาก็ไม่อาจจะทำอะไรได้ ดวงตาและแขนขาจึงต้องทำงานร่วมกัน ปัญญาและกรุณาต้องรวมเป็นหนึ่งเดียว หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็ยากจะตรัสรู้ได้

มีน้อยครั้งที่จะพบพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์นั่งอยู่บนตักของเทวสตรี อย่างนี้เรียกว่า “ยุม-ยับ” การรวมกันของสองเพศเป็นสาธนาหรือหนทางแห่งการหยั่งรู้ในตนอย่างหนึ่งของศาสนาพุทธแบบตันตระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิเบต ดังนั้นพระพุทธรูปปางดังกล่าวจึงมีความหมายแฝงธรรมะไว้

ในเนปาลและทิเบต นับถือพระธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์ข้างต้น โดยถือว่าเป็นตัวแทนของอายตนะภายใน 5 และพระธยานิโพธิสัตว์เป็นตัวแทนของอายตนะภายนอก 5 ซึ่งประกอบเป็นร่างกายของสรรพสัตว์ มีการกำหนดตำแหน่งของพระธยานิพุทธะแต่ละองค์ในพุทธมณฑลซึ่งใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนานิกายวัชรยาน รวมทั้งการกำหนดตำแหน่งของการประดิษฐานพระพุทธะเหล่านี้ไว้ในเจดีย์ในประเทศเนปาล

ในจีนและญี่ปุ่น ชาวพุทธนิกายสุขาวดี นับถือพระอมิตาภพุทธะเพียงองค์เดียว ในญี่ปุ่นได้เพิ่มพระธยานิพุทธะอีกองค์คือ พระวัชรสัตว์ถือว่าเป็นหัวหน้าของพุทธะทั้งหมด หรือเป็นอาทิพุทธะ การนับถือพระธยานิพุทธะในญี่ปุ่นพบในนิกายชินกอนเป็นส่วนใหญ่ นิกายอื่นพบน้อย

SUN SURF MANDALA

ส่วนคำว่า แมนดาลา (Mandala) ที่ใช้ตั้งชื่อเสื้อรุ่นนี้ หากเราลองเปิดดูในความหมายของคำในพจนานุกรมแล้วจะรู้ว่ามันมีความหมายเป็นคำนาม คือรูป “วงกลม” ซึ่งรูปวงกลมนี้ เมื่อบวกกับแหล่งที่มา หรือผนวกเข้ากับแหล่งของสถานที่ในแต่ละวัฒนธรรมของหลาย ๆ ความเชื่อเข้าไป มันเลยทำให้นิยามของมันแตกต่างกันไป

แมนดาลา มีอยู่ทั่วทุกแห่งหน มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ก่อนกำเนิดของศาสนาซะด้วยซ้ำ มีมาตั้งแต่มนุษย์เรารู้จักกับคำว่า “ความดีความชั่ว” หรือเทพยดา ภูตผีปีศาจ เพราะฉะนั้น แมนดาลา เลยมาพร้อมกับความเชื่อ มาพร้อมกับปรัชญาของศาสนา โดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกอ้างอิงให้เกี่ยวพันอยู่กับ 2 ศาสนาเป็นหลัก นั้นคือศาสนาพุทธ และฮินดู

SUN SURF MANDALA
แมนดาลา ภาพวาดศาสนสถานพระวิหารที่มีทางเข้าทั้ง 4 ด้าน (ภาพจากวิกิพิเดีย)

คำว่า แมนดาลาในความหมายของชาวพุทธ เป็นสันสกฤต แปลว่า “มณฑล” ที่แปลว่า ที่รองนั่ง ฐานที่รองนั่ง แก่นรวมศูนย์กลาง ซึ่งมีที่มาจากทิเบต (อันนี้ข้อมูลอ้างอิงหลาย ๆ แหล่งได้กล่าวเอาไว้) ตามความความหมายของศาสนาพุทธ พร้องต้องกันด้วยความหมายว่า ที่ประทับของพระพุทธเจ้า มานดาลาจากดั่งเดิมจะถูกนำไปในการแสดงออกทางด้านสถาปัตยกรรม การสร้างวิหาร ที่จะมีการออกแบบให้มีจุดศูนย์กลางในวิหาร และมีประตูเข้าออก ทั้ง 4 ทิศ 4 ประตู ซึ่งแต่ละประตูจะมีความหมายสำคัญคือ พรหมวิหารสี่ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

คำว่า แมนดาลาในความหมายของชาวฮินดู จะมีความหมายที่กว้างใหญ่กว่า สื่อไปถึงสัญลักษณ์ของจักรวาล! แต่ใช้แทนเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณ ที่แสดงออกมาในลักษณะของ วงกลม เช่นเดียวกัน แต่ความหมายของวงกลมในที่นี้ จะถูกแทนด้วยปรัชญาของการมีชีวิตอยู่ของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ซึ่งมันถูกมองว่า เป็นลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ จุดเริ่มต้นและจุดจบของมันไม่มีอยู่จริง เมื่อไม่มีอยู่จริงก็จะมองหาจุดสิ้นสุดไม่ได้!

SUN SURF MANDALA
พระทิเบตกำลังใช้ทราบผสมกับสีเพื่อสร้างแมนดาลา เป็นการฝึกสมาธิและสอนเรื่องปรัชญาไปในตัว (ภาพจาก invaluable.com)

ในหลาย ๆ ประเพณีและในหลายพิธีกรรมทางศาสนา แมนดาลา มักจะมีการใส่เรื่องของความเชื่อและมีเรื่องราวของเวทย์มนต์คาถาเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ซึ่งสาเหตุที่เป็นอย่างนี้ เป็นเพราะแมนดาลาถูกนำมาใช้ในการฝึกจิต ฝึกฝนให้กับพระทางทิเบตและอินเดีย พระในทิเบตมักจะวาดรูปของแมนดาลาโดยการใช้ทรายผสมกับสี และทำการโรยทรายนั้นลงบนพื้นวาดออกมา ซึ่งในการวาดนั้นจะใช้เวลานานเป็นวันหรือบางชิ้นก็ใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ก็มี พระบางรูปเลยใช้วิธีการท่องสวดมนต์ไปด้วย ขณะที่กำลังทำการฝึกสมาธิและจิตใจด้วยการวาดแมนดาลา และเมื่อวาดเสร็จ แมนดาลานั้นก็จะถูกลบออกไป และก็เริ่มสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการสอนในด้านปรัชญาหลายอย่าง เช่น การมีอยู่และการดับไป การวนเวียนเกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย และก็มีการเกิดขึ้นมาใหม่ วนเวียนไปอยู่แบบนี้

SUN SURF MANDALA
พระทิเบตกำลังใช้ทราบผสมกับสีเพื่อสร้างแมนดาลา เป็นการฝึกสมาธิและสอนเรื่องปรัชญาไปในตัว (ภาพจาก invaluable.com)

ซึ่งในการวาดนั้นจะใช้เวลานานเป็นวันหรือบางชิ้นก็ใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ก็มี พระบางรูปเลยใช้วิธีการท่องสวดมนต์ไปด้วย ขณะที่กำลังทำการฝึกสมาธิและจิตใจด้วยการวาดแมนดาลา และเมื่อวาดเสร็จ แมนดาลานั้นก็จะถูกลบออกไป และก็เริ่มสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการสอนในด้านปรัชญาหลายอย่าง เช่น การมีอยู่และการดับไป การวนเวียนเกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย และก็มีการเกิดขึ้นมาใหม่ วนเวียนไปอยู่แบบนี้

แมนดาลายังถูกนำมาใช้ทางด้านจิตเวช ในการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต และสามารถทำให้แพทย์ที่ทำการรักษาได้รู้ถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้ในระดับหนึ่ง โดยการที่ให้ผู้ป่วยได้วาดรูปแมนดาลา แมนดาลายังถูกนำไปใช้ในการ ฝึกสมาธิ และบำบัดในอีกหลาย ๆ สิ่งกับคนปกติในทุกเพศ ทุกช่วงวัย ช่วยบำบัดความเครียด ฝึกการมีสมาธิในจดจอกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ช่วยให้ผ่อนคลาย

กฎของแมนดาลา ไม่มีอะไรมาก มีเพียงแค่ การทำทุกอย่างที่วาดให้มีความสมดุลและเท่ากันในทุก ๆ ด้าน ทุกสัดส่วน โดยมีจุดศูนย์กลางของวงกลมเป็นหลักสำคัญ ส่วนรูปแบบในการวาดนั้น ไม่มีอะไรตายตัว เราสามารถใส่จินตนาการได้อย่างเต็มที่กับรูปทรงหรือรูปวาดแต่ละอย่าง มันเลยถูกนำมาจัดรวมเอาไว้ในงานด้านศิลปะอีกแขนงหนึ่ง!

แมนดาลา มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้งานกับศาสตร์ทางจิตวิญญาณและการเข้าถึงของวิทยาการสมัยใหม่ แทบจะทุกแขนง และเกือบทุกศาสตร์ของความเป็นมนุษย์ โดยมุ่งเน้นปรัชญาและการตีความหมายไปในด้านของความเชื่อทางศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณที่มันถูกนำมาสร้างเป็นศาสนสถานหรือใช้ในด้านสถาปัตยกรรมต่าง ๆ มากมาย จนถึงปัจจุบันที่ถูกนำเข้ามาใช้ในเทคโนโลยี ในรูปของฟันเฟืองเพียงตัวหนึ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในกลไกของเครื่องจักร

ในวงการศิลปะ มีศิลปินมากมายที่นำศาสตร์ของแมนดาลามาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อจรรโลงโลก และถูกใช้ในการสื่อไปถึงงานศิลปะด้านพุทธิปัญญาอย่างกว้างขวาง โดยเน้นในปรัชญาที่แอบแฝงมาให้เราได้ตีความเช่นเดียวกัน ขอขอบคุณข้อมูลจาก makamstories.com

SUN SURF MANDALA

รุ่นที่ 2 ที่ผลิตในปี 2005 รหัส SS32289 ผลิตออกมา 2 สี สีแดงและสีดำ ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดมาอย่างยาวนานกว่า 19 ปี นักสะสมยังหาซื้อ หาเก็บและใส่จนถึงตอนนี้ โดยในรุ่นนี้เปิดตัววางจำหน่ายในราคา 24,150 เยน ราคารุ่นนี้เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ตามความต้องการของคนซื้อ ตามความหายาก จนแตะไปเกือบแสนเยนก็มี ในตัวที่เป็นมือ 1 มือสองมีตั้งแต่ 30,000 เยนขึ้นไป ขึ้นกับสภาพเสื้อด้วย ยิ่งสภาพดี นอนกล่อง อุปกรณ์ครบ ราคาจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก

SUN SURF MANDALA

และในรุ่นล่าสุด 2021 รหัส SS38711 โดยในรุ่นนี้ผลิตออกมา 3 สี สีดำ สีแดงและสีขาว วางขายในราคา 31,900 เยน สูงกว่ารุ่นที่ 2 7,750 เยนค่ะ รุ่นนี้ยังสามารถหาซื้อได้อยู่ค่ะ โดยการวางลายเกือบเหมือนกันกับรุ่น 2 มีภาพเปรียบเทียบการวางลายของปี 2005 และ 2021 ให้ชม ทั้งสองรุ่นมีความแตกต่างกันหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของเนื้อผ้า และงานพิมพ์

SUN SURF MANDALA
ภาพเปรียบเทียบการวางลายของปี 2005 และ 2021 โดยให้รุ่นใหม่ จะสังเกตเห็นว่ากรอบเสื้อถูกปรับลงมาให้พอดีหลังเสื้อ
SUN SURF MANDALA
ภาพเปรียบเทียบการวางลายของปี 2005 และ 2021 วางลายที่ปกคอต่างกันเล็กน้อย
SUN SURF MANDALA
เนื้อผ้าต่างกัน โดยในรุ่น 2005 เนื้อผ้าเรยอนจะสัมผัสคล้ายคอตต้อน มีน้ำหนักมากกว่า รุ่นที่สองปี 2021 จะใช้เรยอนฟูเจตที่มีความนุ่ม บาง เบาและฟู
SUN SURF MANDALA
งานพิมพ์ ความคมชัดและโทนสีต่างกันชัดเจน
SUN SURF MANDALA
ภาพเปรียบเทียบ ในภาพเป็นสินค้ามือ 1 ทั้งคู่
SUN SURF MANDALA
ภาพเปรียบเทียบการวางลายของปี 2005 และ 2021 วางลายที่ปกคอต่างกันเล็กน้อย
SUN SURF MANDALA
ภาพเปรียบเทียบการวางลายของปี 2005 และ 2021 วางลายที่ปกคอต่างกันเล็กน้อย
SUN SURF MANDALA

จากข้อมูลของเสื้อลายนี้เราทราบว่าถูกพบในเมืองเกียวโตช่วงปี 1970 เพื่อส่งออกไปสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทการค้าญี่ปุ่น Triple Times California Design ส่งออกเป็นผ้าสำหรับทำเสื้อ ในเวลานั้นมีเพียงผ้าเท่านั้น ผู้ผลิตและแบรนด์ที่ผลิตเสื้อยังไม่ทราบค่ะ เนื่องจากเป็นผ้าที่มีความสมบูรณ์สูง ซึ่งทำขึ้นจากการถูแม่พิมพ์ที่แกะสลักอย่างประณีตหลายครั้ง ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันเป็นงานที่ยอดเยี่ยมมากโดยช่างฝีมือผู้ชำนาญ

พื้นฐานของการออกแบบ คือ ม้วนหนังสือแบบแขวนของพุทธศาสนาในทิเบตที่เรียกว่า “Tanka” เดิมทีตั้งใจให้พระภิกษุได้อธิบายธรรมะในลักษณะที่เข้าใจง่ายระหว่างงานเผยแผ่ศาสนา ผ้าชนิดนี้ยังใช้ในพุทธศิลป์แบบธิเบต เช่น ผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายธิเบต ปัทมาสัมพวะ และสัญลักษณ์ของทั้งชายและหญิง Yab-Yum (ยับ-ยุม) มีการพิมพ์ลวดลายที่มองเห็นได้ ชื่อผลงาน “มณฑา” หมายถึง วงกลม ในภาษาสันสกฤต และอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีส่วนเกินหรือขาด นอกจากนี้ยังเป็นภาพที่แสดงถึงสภาวะแห่งการตรัสรู้และได้รับการสืบทอดในวัฒนธรรมญี่ปุ่นว่าเป็น “มันดาลา” ที่เทพเจ้าและพระพุทธเจ้ามารวมตัวกัน / ขอขอบคุณที่มาจาก Sun Surf

SUN SURF MANDALA

ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมเสื้อตัวนี้ จึงได้รับความสนใจอย่างมากจากนักสะสม ทั้งเรื่องราว ลวดลาย แม้แต่ชื่อ มีที่มา ที่เป็นเสื้อตัวนี้ให้ชวนศึกษาและเก็บสะสม ต่อไป

“เสื้อเหล่านี้เป็นงานศิลปะ เหมือนกับภาพ อยู่ทีเราจะให้คุณค่า “

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  1. https://th.wikipedia.org/…/%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%9A…
  2. https://store.toyo-enterprise.co.jp/…/sunsurf/page1/order/
  3. https://www.satapornbooks.co.th/…/%E0%B8%99%E0%B8%B1…/
  4. https://board.postjung.com/661647
  5. https://phuketjournal.com/five-tathagatas.html
  6. https://sites.google.com/…/phraphuththcea-5-phraxngkh
  7. https://makamstories.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0…/
  8. https://www.bukowskis.com/…/376556-tanka-tibet-1900-tal

Leave a Comment

Scroll to Top